ปลากัด
ปลากัด เป็นสัตว์น้ำที่เลี้ยงง่ายเลี้ยงที่ไหนก็ได้ ช่วงไม่กี่ปีมานี้ มีร้านขายปลากัดออนไลน์เกิดขึ้นมากมาย ส่งขายปลากัดทั่วไทย สะดวก รวดเร็ว ราคาไม่แพง และเมื่อจะเลี้ยงทั้งทีก็ควรรู้วิธีเลี้ยงที่ถูกต้องด้วย คนเลี้ยงมือใหม่จะเริ่มเลี้ยงปลากัดสีอะไรก็ได้ที่ชอบ สายพันธุ์ใดก็ได้ เอามาเลี้ยงก่อนให้เรารู้จักว่าจะเลี้ยงยังไง พอเลี้ยงไปเลี้ยงมาจะเกิดความสนุก ทำให้อยากได้ปลากัดเพิ่มต้องไปซื้อใหม่เรื่อยๆ เลี้ยงสัก 2-3 ตัวหาขวดโหลสวยๆ มาใส่ เลี้ยงหลายตัวปลาได้อยู่เป็นเพื่อนกัน เวลามองปลากัดก็รู้สึกเพลิน ซึ่งก็เป็นความจริงที่คนเลี้ยงปลากัดไม่อาจปฏิเสธได้ ปลาแต่ละตัวนั้นช่างสวยน่าหลงใหล เลี้ยงไปแล้วก็อยากเลี้ยงเพิ่ม
ปลากัดสีแดง หาซื้อง่าย เป็นที่นิยม ส่วนสีที่หายาก คือขาวและเหลือง ราคาปลากัดทั่วไปอยู่ที่หลักร้อย สำหรับมือใหม่ที่กำลังมองหาปลากัดสักตัว ควรเลือกปลากัดที่ดีและแข็งแรง จะไม่มีแผลตามตัว ครีบหางจะไม่ห่อ ไม่เหี่ยว หรืออาจจะห่อบ้างบางเวลา ปลากัดที่ดีจะไปว่ายน้ำอวดโฉม ถ้าอยู่เฉยๆ จมลงก้นขวด เป็นอันว่าใช้ไม่ได้ เวลาเลือกซื้อแนะนำให้ยืนดูความแข็งแรงในการแหวกว่ายสักพักก่อนตัดสินใจซื้อ หรือหากสั่งซื้อออนไลน์ อาจจะขอให้ร้านถ่ายคลิปส่งมาให้ก่อนได้
อุปกรณ์สำหรับเลี้ยงปลากัด
1. โหลแก้ว
2. สิ่งที่ห้ามขาดคือใบหูกวางหรือน้ำหมักใบหูกวาง เพราะมีสารแทนนิน ทำให้สภาพของน้ำดี ปลาไม่เป็นโรค
3. สายยาง หรือตัวดูดขี้ปลาก้นโหล เป็นอุปกรณ์ช่วยให้เราทำความสะอาดโหลปลากัดได้ง่ายๆ
4. กระบวยช้อนปลากัด
5. ไม้น้ำ ต้องมีให้ปลากัดได้พักพิง อย่างน้อยควรจะมีไม้น้ำสักหนึ่งต้น ให้ปลากัดได้เอาตัวไปพาดพิงอยู่ ตามนิสัยที่ชอบซุ่มในต้นไม้น้ำตามธรรมชาติ ช่วยลดความเครียดต่อปลา
6. เกลือและยารักษาโรค เหลือช่วยแก้อาการเวลาปลากัดช็อกน้ำ ควรใส่เพียงนิดหน่อยเท่านั้น ส่วนยารักษาโรคต่างๆ มีให้เลือกมากมาย ขึ้นอยู่กับสรรพคุณยานั้นๆ แต่ใช้น้ำใบหูกวางก็เพียงพอ ช่วยปลากัดได้ทุกโรคเช่นกัน ใบหูกวางหรือน้ำใบหูกวางจะดีที่สุด
7. ปากกาหัวสเตนเลส ไว้เล่นกับปลากัด นำปากกาไปแหย่ไว้สักด้านหนึ่งของโหลแก้ว ให้ปลากัดได้ฝึกซุ่มโจมตี ปลากัดจะแผ่ครีบและแผ่นหุ้มเหงือกใส่ปากกาของเรา ผู้เลี้ยงต้องเล่นกับปลากัดบ่อยๆ
คำแนะนำในการเลี้ยงสำหรับมือใหม่ มี 3 ข้อ
1.อาหารปลากัด ซื้ออาหารเม็ดสำเร็จรูปได้ตามร้านขายปลาทั่วไป ให้อาหาร 2 เวลา เช้าและเย็น
2.การเปลี่ยนน้ำ ควรเปลี่ยนน้ำอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง พักน้ำไว้ก่อนสัก 3 วันให้คลอรีนระเหย นำสายยางเล็กๆ หรืออุปกรณ์ช่วยดูดขี้ปลา มาดูดขี้ปลาและน้ำก้นโหลออก เหลือน้ำเก่าไว้สัก 3 – 4 เซนติเมตร แล้วก็เติมน้ำใหม่ลงไป ปลาจะได้ชินกับน้ำ ไม่เป็นโรคง่าย
3. โรคต่างๆ ที่ผู้เลี้ยงมือใหม่อาจเจอ เช่น ไฟลามทุ่งและท้องมาน (เกิดจากให้อาหารเยอะไป) ไม่ต้องตกใจไปหากพบว่าปลากัดป่วย น้ำใบหูกวางช่วยชีวิตปลากัดได้
เท่านี้ก็เพียงพอที่ปลาจะอยู่รอด คนเลี้ยงจะได้เลี้ยงปลากัดอย่างมีความสุข
ติดตามเรื่องราวสัตว์เลี้ยง ได้ที่ arthurcox.net